top of page
NEWS & ARTICLES
Search
No posts published in this language yet
Once posts are published, you’ll see them here.
รู้เท่าทัน Consent ก่อนเซ็นยินยอมศัลยกรรม
ด้วยเทคโนโลยีที่มีคุณภาพสูง ทำให้ทุกวันนี้สวยได้ดั่ง ปาฏิหารย์แต่แน่นอนก่อนทำศัลยกรรม ทุกคนต้องรู้เรื่องนี้ค่ะ โดยทั่วไปแล้วคำว่า ”ศัลยกรรม” ที่เราเข้าใจกันโรงพยาบาลหรือสถานประกอบกิจการด้านความงามส่วนมากเรียกว่า “หัตถการ” เช่น หัตถการจมูก หัตถการตา หัตถการหน้าอก ฯลฯ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะทำศัลยกรรมส่วนใด โดยส่วนแรกที่เราจะต้องเลือก
1. โรงพยาบาล หรือสถานประกอบการนั้น ต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
2. แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดต้องมีใบประกอบวิชาชีพถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ใช่หมอกระเป๋านะค่ะ ผ่าน 2 ข้อนี้แล้ว ต่อไปก็คือ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ
ผู้ศัลยกรรมโดยตรง 💡**ให้ดอกจัน** 💡กันไว้เลยค่ะเนื่องจากมีความสำคัญมากๆ 📌เพราะมันจะส่งผลถึง การศัลยกรรมที่ไม่พึงพอใจ‼️ และการติดเชื้อจากการศัลยกรรม 🤮🤢🤒🤧 รวมถึงค่าเสียหายที่เราจะเรียกร้องจากโรงพยาบาลหรือสถานประกอบกิจการนั้นๆ 💵💰
———📢📢📢📢
🔵 ขั้นตอนแรก คือ การกรอกประวัติของผู้ผ่าตัดใน OPD หรือเวชระเบียนของโรงพยาบาลหรือสถานประกอบกิจการ ขั้นตอนนี้ให้ความสำคัญระดับ 10‼️ ซึ่งผู้ผ่าตัดต้องบันทึกข้อมูลส่วนตัวให้ชัดเจน โดยเฉพาะ โรคประจำตัว อาการป่วย อาการแพ้ยา แพ้อาหาร การทานยาที่มีลักษณะทานประจำ อาหารเสริม หรือวิตามิน แม้กระทั่งอาการภูมิแพ้เล็กน้อยก็ควรแจ้งไว้ ใน OPD หรือเวชระเบียน เพื่อให้ทางโรงพยาบาลหรือสถานประกอบกิจการใช้ความระมัดระวังในการผ่าตัด 👩⚕️👨⚕️💉🌡🧪🩺🧬
🔵 ขั้นตอนที่สอง คือ การเข้าพบแพทย์ เพื่อรับปรึกษา consult ขั้นตอนนี้ให้ความสำคัญระดับ 10‼️ เนื่องจาก เราจะมีโอกาสพูดคุยกับแพทย์มากที่สุดในขั้นตอนของ กระบวนการผ่าตัด กระบวนการรักษา กระบวนการดูแล ผลโดยตรงจากการผ่าตัด และผลโดยอ้อมจากการผ่าตัด
ดังนั้น ในขั้นตอนนี้ผู้ผ่าตัดควรสอบถามให้ชัดเจนในทุกๆขั้นตอน และ 📌ควรแจ้งให้แพทย์จดบันทึกข้อมูลนี้ไว้ในชัดเจนโดยต้องใช้ภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจได้ 📋 (ไม่ใช่ใช้ภาษาแพทย์) ในบันทึกการ Consult
🔵 ขั้นตอนที่สาม คือ แจ้งความต้องการ (NEED) ในการผ่าตัดให้ชัดเจนว่า การผ่าตัดในครั้งนี้ ต้องการให้มีผลในการผ่าตัดเป็นอย่างไร เช่น ต้องการให้จมูกมีรูปทรงแบบใด❓ลักษณะใด❓ ต้องการใช้อุปการณ์ใด❓ในการผ่าตัด เช่น ต้องการใช้ซินิโคน❓ ต้องการกระดูกอ่อนหลังใบหู❓ หรือกระดูกซี่โครง❓ ต้องแจ้งไว้ให้ชัดเจน
⚠️**ย้ำต้องแจ้งและให้แพทย์บันทึกไว้ด้วยว่าหากต้องมีการเปลี่ยนแปลง นอกเหนือจากที่แจ้งไว้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ผ่าตัดอีกครั้ง**📌ห้ามกระทำการอื่นใดโดยพละการเด็ดขาด‼️
🔵 ขั้นตอนที่สี่ คือ การลงนาม ✍🏻 ในหนังสือให้ความยินยอมในการผ่าตัด หรือ 💡Consent **ขั้นตอนนี้ให้ความสำคัญระดับ 100 เลยทีเดียว**⚠️ เพราะมันสำคัญมากๆ เพราะในหนังสือให้ความยินยอมของบางโรงพยาบาลหรือสถานประกอบกิจการ มีการกำหนดเงื่อนไขในการปฏิเสธ🚫❌ความรับผิดในบางกรณีไว้ ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อผู้ผ่าตัด❗️ ดังนั้น หากไม่เข้าใจตรงส่วนไหนให้สอบถามเจ้าหน้าที่ทันที เพื่อสอบถามให้เข้าก่อนเซ็นหรือลงนาม✍🏻
🚫***อย่า*** 🚫 เซ็นหรือลงนามโดยอ่านและไม่ทำความเข้าใจโดยเด็ดขาด** และการเซ็นหรือลงนามควรเซ็นหรือลงนามทุกๆ หน้า ทุกๆ ด้าน**
🔵 ขั้นตอนที่ห้า คือ แจ้งอาการหลังการผ่าตัดให้เจ้าหน้าที่ทราบอย่างต่อเนื่อง 📞📲 แม้แต่อาการข้างเคียงเล็กน้อย และจัดเก็บไว้เป็นหลักฐาน📑 หากมีความจำเป็นต้องเข้าพบแพทย์ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจน และแจ้งการติดตาม Follow up ให้เจ้าหน้าที่ทราบอย่างละเอียด รวมถึงเข้าพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง‼️ แม้แต่หลังจากที่ตัดไหมแล้ว ก็ควรแจ้งอาการ หรือผลข้างเคียงต่างๆ ที่คาดว่าอาจจะขึ้นจากการผ่าตัดและจัดเก็บไว้เป็นหลักฐาน
-----------------------------------
👩🏻⚖️👨🏻⚖️ทนายจึงมีช่องทางการติดต่อสื่อสารในผลกระทบจากการศัลยกรรมมาฝากค่ะ
✔️1. ร้องเรียนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
✔️2. ร้องเรียนแพทยสภา
✔️3. ยื่นฟ้องศาลแผนกคดีผู้บริโภค
ทั้งนี้ทนายขอเตือนว่า “จะโทษแต่แพทย์ไม่ได้นะค่ะ” เพราะตัวเองก็ต้องดูแลรักษาหลังจาการผ่าตัดให้ดีเช่นกัน
1. โรงพยาบาล หรือสถานประกอบการนั้น ต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
2. แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดต้องมีใบประกอบวิชาชีพถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ใช่หมอกระเป๋านะค่ะ ผ่าน 2 ข้อนี้แล้ว ต่อไปก็คือ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ
ผู้ศัลยกรรมโดยตรง 💡**ให้ดอกจัน** 💡กันไว้เลยค่ะเนื่องจากมีความสำคัญมากๆ 📌เพราะมันจะส่งผลถึง การศัลยกรรมที่ไม่พึงพอใจ‼️ และการติดเชื้อจากการศัลยกรรม 🤮🤢🤒🤧 รวมถึงค่าเสียหายที่เราจะเรียกร้องจากโรงพยาบาลหรือสถานประกอบกิจการนั้นๆ 💵💰
———📢📢📢📢
🔵 ขั้นตอนแรก คือ การกรอกประวัติของผู้ผ่าตัดใน OPD หรือเวชระเบียนของโรงพยาบาลหรือสถานประกอบกิจการ ขั้นตอนนี้ให้ความสำคัญระดับ 10‼️ ซึ่งผู้ผ่าตัดต้องบันทึกข้อมูลส่วนตัวให้ชัดเจน โดยเฉพาะ โรคประจำตัว อาการป่วย อาการแพ้ยา แพ้อาหาร การทานยาที่มีลักษณะทานประจำ อาหารเสริม หรือวิตามิน แม้กระทั่งอาการภูมิแพ้เล็กน้อยก็ควรแจ้งไว้ ใน OPD หรือเวชระเบียน เพื่อให้ทางโรงพยาบาลหรือสถานประกอบกิจการใช้ความระมัดระวังในการผ่าตัด 👩⚕️👨⚕️💉🌡🧪🩺🧬
🔵 ขั้นตอนที่สอง คือ การเข้าพบแพทย์ เพื่อรับปรึกษา consult ขั้นตอนนี้ให้ความสำคัญระดับ 10‼️ เนื่องจาก เราจะมีโอกาสพูดคุยกับแพทย์มากที่สุดในขั้นตอนของ กระบวนการผ่าตัด กระบวนการรักษา กระบวนการดูแล ผลโดยตรงจากการผ่าตัด และผลโดยอ้อมจากการผ่าตัด
ดังนั้น ในขั้นตอนนี้ผู้ผ่าตัดควรสอบถามให้ชัดเจนในทุกๆขั้นตอน และ 📌ควรแจ้งให้แพทย์จดบันทึกข้อมูลนี้ไว้ในชัดเจนโดยต้องใช้ภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจได้ 📋 (ไม่ใช่ใช้ภาษาแพทย์) ในบันทึกการ Consult
🔵 ขั้นตอนที่สาม คือ แจ้งความต้องการ (NEED) ในการผ่าตัดให้ชัดเจนว่า การผ่าตัดในครั้งนี้ ต้องการให้มีผลในการผ่าตัดเป็นอย่างไร เช่น ต้องการให้จมูกมีรูปทรงแบบใด❓ลักษณะใด❓ ต้องการใช้อุปการณ์ใด❓ในการผ่าตัด เช่น ต้องการใช้ซินิโคน❓ ต้องการกระดูกอ่อนหลังใบหู❓ หรือกระดูกซี่โครง❓ ต้องแจ้งไว้ให้ชัดเจน
⚠️**ย้ำต้องแจ้งและให้แพทย์บันทึกไว้ด้วยว่าหากต้องมีการเปลี่ยนแปลง นอกเหนือจากที่แจ้งไว้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ผ่าตัดอีกครั้ง**📌ห้ามกระทำการอื่นใดโดยพละการเด็ดขาด‼️
🔵 ขั้นตอนที่สี่ คือ การลงนาม ✍🏻 ในหนังสือให้ความยินยอมในการผ่าตัด หรือ 💡Consent **ขั้นตอนนี้ให้ความสำคัญระดับ 100 เลยทีเดียว**⚠️ เพราะมันสำคัญมากๆ เพราะในหนังสือให้ความยินยอมของบางโรงพยาบาลหรือสถานประกอบกิจการ มีการกำหนดเงื่อนไขในการปฏิเสธ🚫❌ความรับผิดในบางกรณีไว้ ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อผู้ผ่าตัด❗️ ดังนั้น หากไม่เข้าใจตรงส่วนไหนให้สอบถามเจ้าหน้าที่ทันที เพื่อสอบถามให้เข้าก่อนเซ็นหรือลงนาม✍🏻
🚫***อย่า*** 🚫 เซ็นหรือลงนามโดยอ่านและไม่ทำความเข้าใจโดยเด็ดขาด** และการเซ็นหรือลงนามควรเซ็นหรือลงนามทุกๆ หน้า ทุกๆ ด้าน**
🔵 ขั้นตอนที่ห้า คือ แจ้งอาการหลังการผ่าตัดให้เจ้าหน้าที่ทราบอย่างต่อเนื่อง 📞📲 แม้แต่อาการข้างเคียงเล็กน้อย และจัดเก็บไว้เป็นหลักฐาน📑 หากมีความจำเป็นต้องเข้าพบแพทย์ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจน และแจ้งการติดตาม Follow up ให้เจ้าหน้าที่ทราบอย่างละเอียด รวมถึงเข้าพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง‼️ แม้แต่หลังจากที่ตัดไหมแล้ว ก็ควรแจ้งอาการ หรือผลข้างเคียงต่างๆ ที่คาดว่าอาจจะขึ้นจากการผ่าตัดและจัดเก็บไว้เป็นหลักฐาน
-----------------------------------
👩🏻⚖️👨🏻⚖️ทนายจึงมีช่องทางการติดต่อสื่อสารในผลกระทบจากการศัลยกรรมมาฝากค่ะ
✔️1. ร้องเรียนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
✔️2. ร้องเรียนแพทยสภา
✔️3. ยื่นฟ้องศาลแผนกคดีผู้บริโภค
ทั้งนี้ทนายขอเตือนว่า “จะโทษแต่แพทย์ไม่ได้นะค่ะ” เพราะตัวเองก็ต้องดูแลรักษาหลังจาการผ่าตัดให้ดีเช่นกัน
บอกเลิกจ้างแล้วให้หยุดงานทันทีได้ไหม??
มีคำถามมากมายกับทนาย เมื่อเกิดสถานการณ์ COVID-19 แล้วลูกความถูกนายจ้างแจ้งเลิกจ้างและให้หยุดงานทันที‼️ ด้วยเหตุผต่างๆ นานาๆ...จึงเกิดความสงสัยกับทั้งลูกจ้างและนายจ้างว่าเอ๊ะ?? มันทำได้หรือไม่นะ!! ทำไปแล้วจะเกิดผลอะไรบ้างเนี่ย⁉️
—————————
ทนายขอตอบแบบไม่ต้องยกเลขฎีกาและเอาจากประสบการณ์ทนายเลยค่ะว่า “ได้สิคะ‼️” แต่!! แต่!!!!
มีเงื่อนไขพิเศษค่ะตามมาฟังทางนี้เลย...👇👇
✔️ตามหลักกฎหมายแล้ว การเลิกจ้างต้องบอกเลิกสัญญาจ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือหรือด้วยวาจา ก่อนหรือในวันที่จ่ายค่าจ้างของเดือนนั้นๆ เพื่อให้เป็นผลการเลิกสัญญากันเมื่อถึงวันจ่ายค่างจ้างของเดือนถัดไป
✔️หากนายจ้างไม่ประสงค์ให้ลูกจ้างทํางานต่อไปจนถึงวันเลิกจ้างก็ทําได้....แต่!!!! ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงวันที่เลิกจ้างแล้วให้ลูกจ้างออกจากงานทันที‼️📌
💡💡💡
เพียงเท่านี้ลูกจ้างอย่างเราก็ Happy!!!! แต่เอ๊ะ!! แล้วได้แค่นี้จะพอกินอะไร?? ทํางานมาตั้งหลายปี
ทนายขอตอบค่ะ ในฐานะเป็นลูกจ้างมาก่อนว่า “ใช่ค่ะ‼️” ไม่พอแน่นอน‼️❌ กฎหมายเลยกําหนดให้มีเงินก้อนเพื่อตั้งต้นชีวิต💶💸🚨 โดยเงินตั้งต้นชีวิตเราเรียกว่า “ค่าชดเชย” แล้วมีคำถามอีกว่า.....ค่าชดเชย คืออะไร ก็คือเงินที่นายจ้างมีหน้าที่จ่ายตามกฎหมายเมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง ทนายขอย้ำนะค่ะ📍‼️ นายจ้างต้องเป็นฝ่ายเลิกจ้าง (ลูกจ้างลาออกเอง เงินก้อนนี้อดนะคะ)
แล้วไอ้เงินตั้งต้นชีวิตเนี้ยะ ได้เท่าไหร่ล่ะ...ตามนี้เลยค่ะ กฎหมายคุ้มครองอยู่แล้วสบายใจได้หายห่วง!!!
“สิทธิและจํานวนเงินค่าชดเชยที่จะได้รับตามกฎหมาย”
✅1. ทํางานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
✅2. ทํางานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
✅3. ทํางานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
✅4. ทํางานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
✅5. ทํางานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
จ่ายตามจริงห้ามขาดห้ามเกิน ต่อรองได้ แต่ลูกจ้างต้องยินยอม‼️📍
---------------------💡💡
จริงๆแล้ว สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายอื่นมันยังมีอีกบ้าง ซึ่งก็ต้องพิจารณาไปรายกรณีไป ซึ่งหากอยากปรึกษาเรื่องนี้กับทนายส่วนตัว แบบ Private Consulting ให้ Inbox 📨 หรือโทรมาสอบถามได้ค่ะ ทนายพร้อมช่วยเหลือ
—————————
ทนายขอตอบแบบไม่ต้องยกเลขฎีกาและเอาจากประสบการณ์ทนายเลยค่ะว่า “ได้สิคะ‼️” แต่!! แต่!!!!
มีเงื่อนไขพิเศษค่ะตามมาฟังทางนี้เลย...👇👇
✔️ตามหลักกฎหมายแล้ว การเลิกจ้างต้องบอกเลิกสัญญาจ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือหรือด้วยวาจา ก่อนหรือในวันที่จ่ายค่าจ้างของเดือนนั้นๆ เพื่อให้เป็นผลการเลิกสัญญากันเมื่อถึงวันจ่ายค่างจ้างของเดือนถัดไป
✔️หากนายจ้างไม่ประสงค์ให้ลูกจ้างทํางานต่อไปจนถึงวันเลิกจ้างก็ทําได้....แต่!!!! ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงวันที่เลิกจ้างแล้วให้ลูกจ้างออกจากงานทันที‼️📌
💡💡💡
เพียงเท่านี้ลูกจ้างอย่างเราก็ Happy!!!! แต่เอ๊ะ!! แล้วได้แค่นี้จะพอกินอะไร?? ทํางานมาตั้งหลายปี
ทนายขอตอบค่ะ ในฐานะเป็นลูกจ้างมาก่อนว่า “ใช่ค่ะ‼️” ไม่พอแน่นอน‼️❌ กฎหมายเลยกําหนดให้มีเงินก้อนเพื่อตั้งต้นชีวิต💶💸🚨 โดยเงินตั้งต้นชีวิตเราเรียกว่า “ค่าชดเชย” แล้วมีคำถามอีกว่า.....ค่าชดเชย คืออะไร ก็คือเงินที่นายจ้างมีหน้าที่จ่ายตามกฎหมายเมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง ทนายขอย้ำนะค่ะ📍‼️ นายจ้างต้องเป็นฝ่ายเลิกจ้าง (ลูกจ้างลาออกเอง เงินก้อนนี้อดนะคะ)
แล้วไอ้เงินตั้งต้นชีวิตเนี้ยะ ได้เท่าไหร่ล่ะ...ตามนี้เลยค่ะ กฎหมายคุ้มครองอยู่แล้วสบายใจได้หายห่วง!!!
“สิทธิและจํานวนเงินค่าชดเชยที่จะได้รับตามกฎหมาย”
✅1. ทํางานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
✅2. ทํางานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
✅3. ทํางานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
✅4. ทํางานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
✅5. ทํางานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
จ่ายตามจริงห้ามขาดห้ามเกิน ต่อรองได้ แต่ลูกจ้างต้องยินยอม‼️📍
---------------------💡💡
จริงๆแล้ว สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายอื่นมันยังมีอีกบ้าง ซึ่งก็ต้องพิจารณาไปรายกรณีไป ซึ่งหากอยากปรึกษาเรื่องนี้กับทนายส่วนตัว แบบ Private Consulting ให้ Inbox 📨 หรือโทรมาสอบถามได้ค่ะ ทนายพร้อมช่วยเหลือ
โดนเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เรามีสิทธิอะไรบ้าง??
การเลิกจ้าง เป็นธรรมต่อลูกจ้าง หรือไม่ ลูกจ้างจะได้อะไรบ้างหากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
_______________
“ ได้เงินสิคะ” หากพิจารณาแล้วศาลเห็นว่า เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แล้วการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเนี่ยต้องทำยังไง ??
ก่อนอื่นเลยข้อเรียกร้องนี้ต้องนําขึ้นสู่การพิจารณาของศาลนะค่ะ ซึ่งลูกจ้างสามารถเรียกร้องเบื้องต้น ได้ดังนี้ค่ะ
1. ขอให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทํางานต่อไป (คําขอนี้ศาลไม่อาจพิพากษาบังคับให้ได้ จึงขึ้นอยู่กับนายจ้างหรือการตกลงกันขณะการพิจารณาคะ)
2. ขอให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายตามที่ลูกจ้างเรียกร้อง ซึ่งจํานวนค่าเสียหายนั้น กฎหมายไม่ได้กําหนดจํานวนเงินไว้ จึงอยู่ในดุลยพินิจของศาล โดยคํานึงถึง
- อายุงาน / อาชีพ / การศึกษา
- ระยะเวลาทํางาน
- ความเดือดร้อนของลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง - มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง และ
- เงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับกฎหมายไม่ได้กําหนดองค์ประกอบไว้ จึงเป็นดุลยพินิจของศาลนะค่ะ
_______________
“ ได้เงินสิคะ” หากพิจารณาแล้วศาลเห็นว่า เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แล้วการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเนี่ยต้องทำยังไง ??
ก่อนอื่นเลยข้อเรียกร้องนี้ต้องนําขึ้นสู่การพิจารณาของศาลนะค่ะ ซึ่งลูกจ้างสามารถเรียกร้องเบื้องต้น ได้ดังนี้ค่ะ
1. ขอให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทํางานต่อไป (คําขอนี้ศาลไม่อาจพิพากษาบังคับให้ได้ จึงขึ้นอยู่กับนายจ้างหรือการตกลงกันขณะการพิจารณาคะ)
2. ขอให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายตามที่ลูกจ้างเรียกร้อง ซึ่งจํานวนค่าเสียหายนั้น กฎหมายไม่ได้กําหนดจํานวนเงินไว้ จึงอยู่ในดุลยพินิจของศาล โดยคํานึงถึง
- อายุงาน / อาชีพ / การศึกษา
- ระยะเวลาทํางาน
- ความเดือดร้อนของลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง - มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง และ
- เงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับกฎหมายไม่ได้กําหนดองค์ประกอบไว้ จึงเป็นดุลยพินิจของศาลนะค่ะ
ไม่ต้องจ่ายแพงแต่ลดความเสี่ยงในธุรกิจได้
ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่าภาวะเศรษฐกิจแบบนี้สถานการณ์ COVID-19 แบบนี้ ธุรกิจตั้งแต่ SME รายย่อยจนถึงรายใหญ่ ค่อยข้างมีผลกระทบต่อธุรกิจจำนวนมาก และต้องลดค่าใช้จ่ายเพื่อประคับประคองให้อยู่รอด และมาตรการเยียวยาต่างๆ ไม่ถึงผู้ประกอบการบ้าง ซึ่งหลายปัจจัยมาก โดยท่านอาจมีประเด็นปัญหาทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายจำนวนมาก...เช่นกัน
วันนี้ทนายขอเสนอข้อดีของการมีที่ปรึกษากฎหมายธุรกิจเพื่อลดความเสี่ยง (Risk) และลดภาระค่าใช้จ่าย (Save Cost)ให้กับทุกท่าน เพื่อประกอบการตัดสินใจ 📍🧮⚖️💡ดังนี้เลยค่ะ....
✅ ช่วยลดความเสี่ยงทางกฎหมายในการดำเนินธุรกิจในด้านต่าง ๆ เพราะการทำธุรกิจย่อมต้องมีกฎหมายเข้ามากำกับควบคุม ที่ปรึกษากฎหมายจะเป็นผู้ตรวจเช็คข้อกฎหมาย ตรวจร่างสัญญา รวมถึงช่วยวางแผนการดำเนินธุรกิจ และเสนอแนวทางที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ ลดความเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย
✅ ตอบปัญหาข้อสงสัย เสนอแนะแนวทางการดำเนินธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยที่ปรึกษากฎหมายจะเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือ และตอบปัญหาทางกฎหมาย คลายข้อสงสัยให้แก่เจ้าของธุรกิจ และเสนอแนวทางการดำเนินธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้แก่องค์กร
✅ ลดข้อพิพาททางคดี โดยที่ปรึกษากฎหมายจะเป็นตรวจสอบความเสี่ยงและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา และเป็นผู้เจรจาเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาททางคดีที่จะสร้างความเสียหายให้แก่บริษัท
✅ มีโอกาสและทางเลือกในการแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องตามกฎหมาย การแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ โดยที่ปรึกษากฎหมายจะพิจารณาหาแนวทางที่ถูกต้องตามกฎหมายและลดความเสี่ยงให้แก่องค์กรสูงสุด เพื่อให้เจ้าของธุรกิจสามารถเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับองค์กร
✅ ช่วยลดค่าใช้จ่ายและมีทีมทนายผู้เชี่ยวชาญ การเสนอแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายช่วยให้ลดความเสี่ยงจากการแก้ไขปัญหาจากการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย การถูกดำเนินคดี และการถูกตรวจสอบ นอกจากนี้ การมีปรึกษากฎหมายเป็นนักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถทำให้องค์กรสามารถยืดหยุดแผนการจ้างนักกฎหมายได้ตามความเหมาะสมของธุรกิจ
วันนี้ทนายขอเสนอข้อดีของการมีที่ปรึกษากฎหมายธุรกิจเพื่อลดความเสี่ยง (Risk) และลดภาระค่าใช้จ่าย (Save Cost)ให้กับทุกท่าน เพื่อประกอบการตัดสินใจ 📍🧮⚖️💡ดังนี้เลยค่ะ....
✅ ช่วยลดความเสี่ยงทางกฎหมายในการดำเนินธุรกิจในด้านต่าง ๆ เพราะการทำธุรกิจย่อมต้องมีกฎหมายเข้ามากำกับควบคุม ที่ปรึกษากฎหมายจะเป็นผู้ตรวจเช็คข้อกฎหมาย ตรวจร่างสัญญา รวมถึงช่วยวางแผนการดำเนินธุรกิจ และเสนอแนวทางที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ ลดความเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย
✅ ตอบปัญหาข้อสงสัย เสนอแนะแนวทางการดำเนินธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยที่ปรึกษากฎหมายจะเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือ และตอบปัญหาทางกฎหมาย คลายข้อสงสัยให้แก่เจ้าของธุรกิจ และเสนอแนวทางการดำเนินธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้แก่องค์กร
✅ ลดข้อพิพาททางคดี โดยที่ปรึกษากฎหมายจะเป็นตรวจสอบความเสี่ยงและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา และเป็นผู้เจรจาเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาททางคดีที่จะสร้างความเสียหายให้แก่บริษัท
✅ มีโอกาสและทางเลือกในการแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องตามกฎหมาย การแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ โดยที่ปรึกษากฎหมายจะพิจารณาหาแนวทางที่ถูกต้องตามกฎหมายและลดความเสี่ยงให้แก่องค์กรสูงสุด เพื่อให้เจ้าของธุรกิจสามารถเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับองค์กร
✅ ช่วยลดค่าใช้จ่ายและมีทีมทนายผู้เชี่ยวชาญ การเสนอแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายช่วยให้ลดความเสี่ยงจากการแก้ไขปัญหาจากการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย การถูกดำเนินคดี และการถูกตรวจสอบ นอกจากนี้ การมีปรึกษากฎหมายเป็นนักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถทำให้องค์กรสามารถยืดหยุดแผนการจ้างนักกฎหมายได้ตามความเหมาะสมของธุรกิจ
ต้องรู้เงื่อนไขข้อสำคัญก่อนเซ็นสัญญา!!
ทนายเลยมีคำแนะนำเล็กน้อยจากประสบการณ์รวมกันของทนายเกือบ 25 ปี ซึ่งคลุกคลีกับสัญญาทั้งเป็นผู้ร่างและผู้ตรวจมาแล้วมากมาย ในการดูข้อสัญญามาฝากค่ะ
———————💡💡
ก่อนอื่นเลยทนายขอออกตัวก่อนว่าข้อความและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาทุกฉบับเป็นสิ่งสำคัญ!! ควรอ่านข้อสัญญาให้เข้าใจ และตรวจเอกสารอย่างละเอียดก่อนเซ็นสัญญาทุกครั้ง แต่สำหรับสถานการณ์เร่งด่วน 🚨🚨ทนายขอเสนอให้ทำความเข้าใจเนื้อหาสัญญาว่าเป็นไปตามที่ตนเองต้องการหรือไม่? และตรวจเช็คข้อสัญญาดังต่อไปนี้อย่างละเอียดเบื้องต้น ดังนี้ 👇
✅1. วันมีผลบังคับใช้ในสัญญา : ในสัญญานั้น บางครั้งอาจกำหนดวันมีผลบังคับใช้ไว้ตรงกับวันที่เราเซ็นสัญญา แต่ในบางครั้งอาจกำหนดวันมีผลบังคับใช้ในวันอื่นก็ได้
ผู้เซ็นสัญญาควรตรวจให้แน่ใจจะได้ไม่หลงวันที่ต้องทำตามสัญญา
✅2. เงื่อนไขที่เราต้องทำตามสัญญา : สัญญาส่วนใหญ่เป็นสัญญาต่างตอบแทน ที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายที่ทำตามข้อสัญญาให้แก่กัน ดังนั้น ผู้เซ็นสัญญาต้องตรวจสอบว่าเป็นไปตามที่ตกลงกันหรือไม่ และตนเองต้องทำอะไรตามสัญญาบ้าง และพิจารณาถึงความสามารถตนเองว่าสามารถทำได้หรือไม่ เพราะหากทำไม่ได้อาจผิดสัญญาและต้องชดให้ค่าเสียหายให้แก่อีกฝ่ายได้‼️‼️
✅3. เงื่อนไขที่เราได้รับตามสัญญา : นอกจากที่เราต้องดูหน้าที่ของเราตามสัญญาแล้ว เราต้องดูว่าเราจะได้อะไรจากสัญญาบ้าง ซึ่งผู้เซ็นสัญญาต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นไปตามที่ตกลงกันหรือไม่⁉️⁉️
✅4. การบอกเลิกสัญญา : ผู้เซ็นสัญญาต้องตรวจสอบและทำความเข้าใจถึงสิทธิการบอกเลิกสัญญาของคู่สัญญาว่า เป็นไปตามที่ตกลงกันหรือไม่ และมีลักษณะที่เกิดผลเสียกับเราหรือไม่ ซึ่งเงื่อนไขการบอกเลิกสัญญาจะมีผลต่อการรับผิดตามสัญญาของคู่สัญญาฝ่ายที่ถูกบอกเลิก‼️
✅5. ความรับผิดตามสัญญา : ข้อตกลงความรับผิดตามสัญญา เป็นสิ่งที่เซ็นสัญญาต้องตรวจสอบและทำความเข้าใจ เพื่อให้ทราบว่าหากเกิดปัญหาของการเลิกสัญญาแล้วเราจะมีสิทธิและหน้าที่อะไรบ้าง ซึ่งสิทธิและหน้าที่ดังกล่าวจะมีผลต่อการเยียวยาชดใช้กรณีผิดสัญญา‼️ รวมถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย‼️ และการฟ้องร้องคดีในอนาคต‼️
✅6. การจ่ายภาษี/ค่าธรรมเนียม 💰 : สัญญาส่วนใหญ่ย่อมมาพร้อมกับการจ่ายภาษีหรือค่าธรรมเนียม ซึ่งผู้เซ็นสัญญาต้องตรวจสอบและทำความเข้าใจ เพื่อให้ทราบว่าใครมีหน้าที่จ่ายภาษีหรือค่าธรรมเนียมตามสัญญา
———————💡💡
ก่อนอื่นเลยทนายขอออกตัวก่อนว่าข้อความและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาทุกฉบับเป็นสิ่งสำคัญ!! ควรอ่านข้อสัญญาให้เข้าใจ และตรวจเอกสารอย่างละเอียดก่อนเซ็นสัญญาทุกครั้ง แต่สำหรับสถานการณ์เร่งด่วน 🚨🚨ทนายขอเสนอให้ทำความเข้าใจเนื้อหาสัญญาว่าเป็นไปตามที่ตนเองต้องการหรือไม่? และตรวจเช็คข้อสัญญาดังต่อไปนี้อย่างละเอียดเบื้องต้น ดังนี้ 👇
✅1. วันมีผลบังคับใช้ในสัญญา : ในสัญญานั้น บางครั้งอาจกำหนดวันมีผลบังคับใช้ไว้ตรงกับวันที่เราเซ็นสัญญา แต่ในบางครั้งอาจกำหนดวันมีผลบังคับใช้ในวันอื่นก็ได้
ผู้เซ็นสัญญาควรตรวจให้แน่ใจจะได้ไม่หลงวันที่ต้องทำตามสัญญา
✅2. เงื่อนไขที่เราต้องทำตามสัญญา : สัญญาส่วนใหญ่เป็นสัญญาต่างตอบแทน ที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายที่ทำตามข้อสัญญาให้แก่กัน ดังนั้น ผู้เซ็นสัญญาต้องตรวจสอบว่าเป็นไปตามที่ตกลงกันหรือไม่ และตนเองต้องทำอะไรตามสัญญาบ้าง และพิจารณาถึงความสามารถตนเองว่าสามารถทำได้หรือไม่ เพราะหากทำไม่ได้อาจผิดสัญญาและต้องชดให้ค่าเสียหายให้แก่อีกฝ่ายได้‼️‼️
✅3. เงื่อนไขที่เราได้รับตามสัญญา : นอกจากที่เราต้องดูหน้าที่ของเราตามสัญญาแล้ว เราต้องดูว่าเราจะได้อะไรจากสัญญาบ้าง ซึ่งผู้เซ็นสัญญาต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นไปตามที่ตกลงกันหรือไม่⁉️⁉️
✅4. การบอกเลิกสัญญา : ผู้เซ็นสัญญาต้องตรวจสอบและทำความเข้าใจถึงสิทธิการบอกเลิกสัญญาของคู่สัญญาว่า เป็นไปตามที่ตกลงกันหรือไม่ และมีลักษณะที่เกิดผลเสียกับเราหรือไม่ ซึ่งเงื่อนไขการบอกเลิกสัญญาจะมีผลต่อการรับผิดตามสัญญาของคู่สัญญาฝ่ายที่ถูกบอกเลิก‼️
✅5. ความรับผิดตามสัญญา : ข้อตกลงความรับผิดตามสัญญา เป็นสิ่งที่เซ็นสัญญาต้องตรวจสอบและทำความเข้าใจ เพื่อให้ทราบว่าหากเกิดปัญหาของการเลิกสัญญาแล้วเราจะมีสิทธิและหน้าที่อะไรบ้าง ซึ่งสิทธิและหน้าที่ดังกล่าวจะมีผลต่อการเยียวยาชดใช้กรณีผิดสัญญา‼️ รวมถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย‼️ และการฟ้องร้องคดีในอนาคต‼️
✅6. การจ่ายภาษี/ค่าธรรมเนียม 💰 : สัญญาส่วนใหญ่ย่อมมาพร้อมกับการจ่ายภาษีหรือค่าธรรมเนียม ซึ่งผู้เซ็นสัญญาต้องตรวจสอบและทำความเข้าใจ เพื่อให้ทราบว่าใครมีหน้าที่จ่ายภาษีหรือค่าธรรมเนียมตามสัญญา
ประกาศยกเลิกประกันภัยได้ด้วยหรอ??
วันนี้ทนายอยากมาแชร์ความรู้เบื้องต้นและวิเคราะห์การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยของสินมั่นคงประกันภัยอีกรูปแบบหนึ่ง (อาจจะยาวหน่อย👌) รวมถึงช่องทางการร้องเรียน📢📢เพื่อขอความเป็นธรรมกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันจากการบอกเลิกกรมธรรม์กรณีอื่นด้วย ซึ่งหากเป็นเชิงกฎหมาย⚖️ก็น่าจะมีทนายหลายท่านออกมาให้ความเห็นกันมากแล้ว และเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ค่ะ💓
____________________📍📌
ทนายจึงขอแชร์จากประสบการณ์และความเห็นส่วนตัวในฐานะที่เคยคลุกคลีกับธุรกิจประภัย จะเห็นได้ว่าเกิดเรื่องร้องเรียนเพื่อขอเคลมประกันภัยอยู่บ่อยครั้งไม่ว่ากับบริษัทประกันภัยเองหรือที่ OIC (คปภ.) ด้วย ซึ่งบางครั้งเคลมได้บ้างไม่ได้บ้าง บางเคสทนายเองก็สงสารประชาชนผู้เอาประกันภัยที่ไม่สามารถเคลมได้และเดือนร้อนจริงๆ เช่น เข้าใจว่าเป็นแบบนี้ ตัวแทนบอกแบบนี้ เอกสารเสนอขายเป็นแบบนี้ เหตุผลต่างๆ นานาๆ สาเหตุหลักเลยเพราะว่า “เงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย📑📃” เพราะฉะนั้น ทนายอยากให้ทุกท่านพยายามอ่านเงื่อนไขของกรมธรรม์ให้ละเอียด 📌และให้บริษัท/ตัวแทนรักษาจรรยาบรรณของวิชาชีพโดยอธิบายเงื่อนไขประกันภัยให้ชัดเจนมากขึ้น เอกสารเสนอขายหรือคำเคลมโฆษณาก็ต้องให้สอดคล้องกับสัญญากรมธรรม์และเอกสารเงื่อนไขแนบท้ายด้วย 🔐
_____________________🏷
ทีนี่เรามาเข้าสู่การวิเคราะห์ในประกาศบอกเลิกของสินมั่นคงประกันภัยกันค่ะ
🚫สินมั่นคงประกันภัยบริหารความเสี่ยงไม่ไหว:
- เป็นบริษัทประกันภัยย่อมต้องบริหารความเสี่ยงโดยหลักพื้นฐานการทำธุรกิจอยู่แล้ว โดยมีนักคณิตศาสตร์ประกันภัยคอยประเมิน วิเคราะห์ ผลกระทบทางด้านการเงินของความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของธุรกิจ รวมถึงวางโมเดลทางธุรกิจเพื่อคาดการณ์เหตุที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะฉะนั้นก่อนที่บริษัทจะรับประกันภัยรูปแบบใด หรือมีผลิตภัณฑ์ใดออกมา ย่อมต้องผ่านการวิเคราะห์มาอย่างดีและคาดว่าได้กำไรแน่นอนอยู่แล้ว
- ดังนั้น โมโดล “กรรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 เจอ จ่าย จบ แบบ 2 in 1” ย่อมเป็นประกันภัยที่บริษัทสามารถรับความเสี่ยงได้แน่นอน!! รวมถึงโฆษณาที่ชี้ชวนให้เชื่อมั่นอย่างเห็นได้ชัด (ตรงนี้บริษัทอาจจะต้องทบทวนรูปแบบนโยบายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนผู้เอาประกันภัยมากขึ้น)
🚫มีความจำเป็นต้องใช้สิทธิบอกเลิกกรรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 เจอ จ่าย จบ แบบ 2 in 1:
- เป็นลักษณะการบอกเลิกโดยใช้ข้อสัญญากรมธรรม์ประกันภัยที่กำหนดให้สามารถทำได้ ตามข้อ 2.4.3 และ 2.5.1 เพื่อให้กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นสุดความคุ้มครองทั้งฉบับ เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่ที่ผู้เอาประกันภัยได้รับหนังสือ จะเห็นได้เลยว่าใช้ข้อกำหนดในสัญญากรมธรรม์เพื่อบอกเลิก ซึ่งโดยหลักกฎหมายแล้วการที่จะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้กับประชาชนผู้เอาประกันภัยได้นั้น ย่อมตั้งเป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบแล้วเท่านั้น ในกรณีที่บริษัทประกันภัยต่างๆ ได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยแตกต่างไปจากแบบหรือข้อความที่นายทะเบียนกำหนดไว้ ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิชอบด้วยกฎหมายที่จะให้บริษัทต้องรับผิดในการเคลมประกันภัยที่บริษัทได้ออกให้ไว้ได้เช่นกัน
- ฉะนั้นหากถามว่า การขอเลิกสัญญาแบบนี้ไม่สุจริตใช่หรือไม่ สำหรับทนายเองก็คงมองไปในทิศทางเดียวกันกับทนายท่านอื่นที่มองว่าไม่สุจริตและไม่เป็นธรรมกับประชาชนผู้เอาประกัน เพราะประชาชนก็ซื้อประกันภัยโดยยอมรับความเสี่ยงที่อาจจะติด COVID-19 หรือไม่ติดก็ได้ ทนายเองก็ซื้อประกันภัย COVID-19 เช่นกันตั้งแต่เมื่อปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่ติด COVID-19
- ดังนั้น เงินที่ซื้อความเสี่ยงไป บริษัทประกันภัยก็ได้รับประโยชน์โดยสิ้นเชิงเช่นกัน แต่ปรากฏว่าบริษัทประกันภัยมองสถานการณ์แล้วบอกว่า ต้องบริหารความเสี่ยงและมีผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการดำเนินธุรกิจ และเพื่อให้มีความสามารถดูแลในกลุ่มภัณฑ์และบริการทั้งหมด ย่อมเป็นนโยบายที่ปัดความรับผิด ปัดช่องน้อยแต่พอตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของบริษัทประกันภัยทุกแห่งในประเทศไทย
- ถึงแม้ว่าจะออกประกาศว่าไม่มีนโยบายเช่นนี้ก็ตาม เพราะประชาชนได้เห็นแล้วว่ามีเงื่อนไขที่เปิดช่องว่างให้บริษัทโดยชัดเจน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บริษัทประกันภัยทุกแห่งต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนร่วมและช่วยเหลือประชาชนอีกทางเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์เลวร้ายเช่นนี้ได้ รวมถึงความคุ้มค่าของกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย
🚫จะคืนค่าเบี้ยประกันภัยให้ แต่‼️ ขอหักเบี้ยประกันภัยก่อนคืนด้วยนะ หลักการใช้ If Clause ที่แท้จริง!!
- บอกได้เลยว่าตรงนี้ พลาดสุด‼️ จะบอกเลิกความคุ้มครองทั้งฉบับ แต่ดันมาหักเบี้ยประกันตามส่วนระยะเวลาที่ได้คุ้มครองผู้เอาประกันภัยมาแล้ว คือจริงๆ มันก็ทำได้ แต่มันไม่ใช่เวลาและเป็นความไม่ยุติธรรมอย่างมากขณะนี้ เพราะประชาชนผู้เอาประกันภัยจ่ายเบี้ยประกันให้บริษัทประกันภัย ซึ่งอาจจะมีการนำไปลงทุนให้เกิดดอกผลเพื่อนำผลประโยชน์ที่ได้รับมารองรับการเคลมประกันนั้นเอง ทั้งนี้ ก็ต้องแล้วแต่นโยบายแล้วบริษัทจะทำในรูปแบบไหนนั้นเอง
✅คำสั่งนายทะเบียนมาแล้ว!!! (คำสั่งที่ 38/2564 ลงวัน 16 กรกฎาคม 2564)
ต่อมานายทะเบียนที่ได้เห็นชอบรูปแบบกรมธรรม์ตามกฎหมายก่อนหน้า เห็นได้ว่าเกิดความไม่เป็นธรรมหรือเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนแก่ผู้เอาประกันภัยจากสถานการณ์ COVID-19 และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบธุรกิจประกันภัยกลับมา จึงอาศัยอำนาจความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคำสั่งได้ และมีเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งโดยสรุปดังนี้
- ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนที่ประกอบธุรกิจประกันภัยวินาศภัย รวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย (บังคับทั้งบริษัทไทยและบริษัทสาขาต่างชาติ)
- ให้บริษัทประกันภัยในประเทศไทยยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 ที่บริษัทได้ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย
- ให้มีผลใช้บังคับได้กับการเอาประกันภัย COVID-19 ก่อนที่จะมีคำสั่งฉบับนี้ และยังมีผลใช้บังคับต่อไป (แบบไม่มีกำหนดระยะเวลา อย่างไรก็ตามต้องติดตามคำสั่งอย่างใกล้ชิด)
- ดังนั้น ไม่ว่าบริษัทประภัยที่ใดจะมีนโยบายหรือไม่มีการบอกเลิกก็ตาม แต่โดยหลักกฎหมายเมื่อนายทะเบียนออกคำสั่งแล้ว ต้องปฏิบัติตามเท่านั้น‼️
📍สุดท้ายนี้ ทนายได้นำช่องทางการให้ความเป็นธรรมกับผู้เอาประกันภัยมากฝากค่ะ
✅ระบบการรับและพิจารณาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการประกันภัยและการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการในเว็บไซต์ของสำนักงาน คปภ. https://complaintportal.oic.or.th/ppms/home
✅ยื่นหนังสือร้องเรียน หรือยื่นผ่านหน่วยงานอื่น และ
✅ประชาชนสามารถยื่นผ่านทางไปรษณีย์มายังสำนักงาน คปภ. หรือร้องเรียนด้วยตนเองที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านการประกันภัย (Insurance Complaint Center : ICC) ตั้งอยู่ที่สำนักงาน คปภ. ในส่วนกลาง และสำนักงาน คปภ. ภาค/เขต/จังหวัด ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ
____________________📍📌
ทนายจึงขอแชร์จากประสบการณ์และความเห็นส่วนตัวในฐานะที่เคยคลุกคลีกับธุรกิจประภัย จะเห็นได้ว่าเกิดเรื่องร้องเรียนเพื่อขอเคลมประกันภัยอยู่บ่อยครั้งไม่ว่ากับบริษัทประกันภัยเองหรือที่ OIC (คปภ.) ด้วย ซึ่งบางครั้งเคลมได้บ้างไม่ได้บ้าง บางเคสทนายเองก็สงสารประชาชนผู้เอาประกันภัยที่ไม่สามารถเคลมได้และเดือนร้อนจริงๆ เช่น เข้าใจว่าเป็นแบบนี้ ตัวแทนบอกแบบนี้ เอกสารเสนอขายเป็นแบบนี้ เหตุผลต่างๆ นานาๆ สาเหตุหลักเลยเพราะว่า “เงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย📑📃” เพราะฉะนั้น ทนายอยากให้ทุกท่านพยายามอ่านเงื่อนไขของกรมธรรม์ให้ละเอียด 📌และให้บริษัท/ตัวแทนรักษาจรรยาบรรณของวิชาชีพโดยอธิบายเงื่อนไขประกันภัยให้ชัดเจนมากขึ้น เอกสารเสนอขายหรือคำเคลมโฆษณาก็ต้องให้สอดคล้องกับสัญญากรมธรรม์และเอกสารเงื่อนไขแนบท้ายด้วย 🔐
_____________________🏷
ทีนี่เรามาเข้าสู่การวิเคราะห์ในประกาศบอกเลิกของสินมั่นคงประกันภัยกันค่ะ
🚫สินมั่นคงประกันภัยบริหารความเสี่ยงไม่ไหว:
- เป็นบริษัทประกันภัยย่อมต้องบริหารความเสี่ยงโดยหลักพื้นฐานการทำธุรกิจอยู่แล้ว โดยมีนักคณิตศาสตร์ประกันภัยคอยประเมิน วิเคราะห์ ผลกระทบทางด้านการเงินของความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของธุรกิจ รวมถึงวางโมเดลทางธุรกิจเพื่อคาดการณ์เหตุที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะฉะนั้นก่อนที่บริษัทจะรับประกันภัยรูปแบบใด หรือมีผลิตภัณฑ์ใดออกมา ย่อมต้องผ่านการวิเคราะห์มาอย่างดีและคาดว่าได้กำไรแน่นอนอยู่แล้ว
- ดังนั้น โมโดล “กรรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 เจอ จ่าย จบ แบบ 2 in 1” ย่อมเป็นประกันภัยที่บริษัทสามารถรับความเสี่ยงได้แน่นอน!! รวมถึงโฆษณาที่ชี้ชวนให้เชื่อมั่นอย่างเห็นได้ชัด (ตรงนี้บริษัทอาจจะต้องทบทวนรูปแบบนโยบายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนผู้เอาประกันภัยมากขึ้น)
🚫มีความจำเป็นต้องใช้สิทธิบอกเลิกกรรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 เจอ จ่าย จบ แบบ 2 in 1:
- เป็นลักษณะการบอกเลิกโดยใช้ข้อสัญญากรมธรรม์ประกันภัยที่กำหนดให้สามารถทำได้ ตามข้อ 2.4.3 และ 2.5.1 เพื่อให้กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นสุดความคุ้มครองทั้งฉบับ เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่ที่ผู้เอาประกันภัยได้รับหนังสือ จะเห็นได้เลยว่าใช้ข้อกำหนดในสัญญากรมธรรม์เพื่อบอกเลิก ซึ่งโดยหลักกฎหมายแล้วการที่จะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้กับประชาชนผู้เอาประกันภัยได้นั้น ย่อมตั้งเป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบแล้วเท่านั้น ในกรณีที่บริษัทประกันภัยต่างๆ ได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยแตกต่างไปจากแบบหรือข้อความที่นายทะเบียนกำหนดไว้ ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิชอบด้วยกฎหมายที่จะให้บริษัทต้องรับผิดในการเคลมประกันภัยที่บริษัทได้ออกให้ไว้ได้เช่นกัน
- ฉะนั้นหากถามว่า การขอเลิกสัญญาแบบนี้ไม่สุจริตใช่หรือไม่ สำหรับทนายเองก็คงมองไปในทิศทางเดียวกันกับทนายท่านอื่นที่มองว่าไม่สุจริตและไม่เป็นธรรมกับประชาชนผู้เอาประกัน เพราะประชาชนก็ซื้อประกันภัยโดยยอมรับความเสี่ยงที่อาจจะติด COVID-19 หรือไม่ติดก็ได้ ทนายเองก็ซื้อประกันภัย COVID-19 เช่นกันตั้งแต่เมื่อปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่ติด COVID-19
- ดังนั้น เงินที่ซื้อความเสี่ยงไป บริษัทประกันภัยก็ได้รับประโยชน์โดยสิ้นเชิงเช่นกัน แต่ปรากฏว่าบริษัทประกันภัยมองสถานการณ์แล้วบอกว่า ต้องบริหารความเสี่ยงและมีผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการดำเนินธุรกิจ และเพื่อให้มีความสามารถดูแลในกลุ่มภัณฑ์และบริการทั้งหมด ย่อมเป็นนโยบายที่ปัดความรับผิด ปัดช่องน้อยแต่พอตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของบริษัทประกันภัยทุกแห่งในประเทศไทย
- ถึงแม้ว่าจะออกประกาศว่าไม่มีนโยบายเช่นนี้ก็ตาม เพราะประชาชนได้เห็นแล้วว่ามีเงื่อนไขที่เปิดช่องว่างให้บริษัทโดยชัดเจน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บริษัทประกันภัยทุกแห่งต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนร่วมและช่วยเหลือประชาชนอีกทางเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์เลวร้ายเช่นนี้ได้ รวมถึงความคุ้มค่าของกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย
🚫จะคืนค่าเบี้ยประกันภัยให้ แต่‼️ ขอหักเบี้ยประกันภัยก่อนคืนด้วยนะ หลักการใช้ If Clause ที่แท้จริง!!
- บอกได้เลยว่าตรงนี้ พลาดสุด‼️ จะบอกเลิกความคุ้มครองทั้งฉบับ แต่ดันมาหักเบี้ยประกันตามส่วนระยะเวลาที่ได้คุ้มครองผู้เอาประกันภัยมาแล้ว คือจริงๆ มันก็ทำได้ แต่มันไม่ใช่เวลาและเป็นความไม่ยุติธรรมอย่างมากขณะนี้ เพราะประชาชนผู้เอาประกันภัยจ่ายเบี้ยประกันให้บริษัทประกันภัย ซึ่งอาจจะมีการนำไปลงทุนให้เกิดดอกผลเพื่อนำผลประโยชน์ที่ได้รับมารองรับการเคลมประกันนั้นเอง ทั้งนี้ ก็ต้องแล้วแต่นโยบายแล้วบริษัทจะทำในรูปแบบไหนนั้นเอง
✅คำสั่งนายทะเบียนมาแล้ว!!! (คำสั่งที่ 38/2564 ลงวัน 16 กรกฎาคม 2564)
ต่อมานายทะเบียนที่ได้เห็นชอบรูปแบบกรมธรรม์ตามกฎหมายก่อนหน้า เห็นได้ว่าเกิดความไม่เป็นธรรมหรือเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนแก่ผู้เอาประกันภัยจากสถานการณ์ COVID-19 และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบธุรกิจประกันภัยกลับมา จึงอาศัยอำนาจความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคำสั่งได้ และมีเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งโดยสรุปดังนี้
- ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนที่ประกอบธุรกิจประกันภัยวินาศภัย รวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย (บังคับทั้งบริษัทไทยและบริษัทสาขาต่างชาติ)
- ให้บริษัทประกันภัยในประเทศไทยยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 ที่บริษัทได้ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย
- ให้มีผลใช้บังคับได้กับการเอาประกันภัย COVID-19 ก่อนที่จะมีคำสั่งฉบับนี้ และยังมีผลใช้บังคับต่อไป (แบบไม่มีกำหนดระยะเวลา อย่างไรก็ตามต้องติดตามคำสั่งอย่างใกล้ชิด)
- ดังนั้น ไม่ว่าบริษัทประภัยที่ใดจะมีนโยบายหรือไม่มีการบอกเลิกก็ตาม แต่โดยหลักกฎหมายเมื่อนายทะเบียนออกคำสั่งแล้ว ต้องปฏิบัติตามเท่านั้น‼️
📍สุดท้ายนี้ ทนายได้นำช่องทางการให้ความเป็นธรรมกับผู้เอาประกันภัยมากฝากค่ะ
✅ระบบการรับและพิจารณาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการประกันภัยและการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการในเว็บไซต์ของสำนักงาน คปภ. https://complaintportal.oic.or.th/ppms/home
✅ยื่นหนังสือร้องเรียน หรือยื่นผ่านหน่วยงานอื่น และ
✅ประชาชนสามารถยื่นผ่านทางไปรษณีย์มายังสำนักงาน คปภ. หรือร้องเรียนด้วยตนเองที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านการประกันภัย (Insurance Complaint Center : ICC) ตั้งอยู่ที่สำนักงาน คปภ. ในส่วนกลาง และสำนักงาน คปภ. ภาค/เขต/จังหวัด ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ
LEGAL INSIGHT COMPANY LIMITED
LEGAL INSIGHT COMPANY LIMITED
LEGAL INSIGHT COMPANY LIMITED
LEGAL INSIGHT COMPANY LIMITED
LEGAL INSIGHT COMPANY LIMITED
LEGAL INSIGHT COMPANY LIMITED
LEGAL INSIGHT COMPANY LIMITED
bottom of page